มาถึงเรื่องสุดท้ายเท่าที่ผมวางแผนไว้แล้ว ในอนาคตมีอะไรเพิ่มเติมจะมาอัพเดทให้อีกที

อ่านตอนก่อนๆได้ที่
Multi Effect #1 มัลติตัวไหนดีกว่ากัน
Multi Effects #2 : มัลติเอฟเฟกต์ทำงานอย่างไร?
Multi Effect #3 : Converter ในมัลติเอฟเฟกต์ทำหน้าที่อะไร?
Multi Effects #4 : DPS หัวใจของมัลติเอฟเฟกต์
Multi Effects #5 : IR มาตรฐานใหม่ของมัลติเอฟเฟกต์ในยุค 2010’s

เมื่อเราใช้มัลติเอฟเฟกต์ สุดท้ายเราก็ต้องต่อจากตัวมัลติไปที่อุปกรณ์ถัดไป ไม่ว่าจะเป็น แอมป์, DI, มิกเซอร์ หรือ หูฟัง ในตอนนี้ผมว่าพูดถึงเรื่อง Connector ประเภทต่างๆที่ใช้กันในมัลติเอฟเฟกต์ รวมถึง Global EQ ซึ่งเป็นเหมือนกับสุดยอดอาวุธลับที่ช่วยให้เรารอดจากสถานการณ์ต่างๆได้ถ้าเราฝึกใช้งานมัน

ชนิดของ Connector ต่างๆที่นิยมใช้กัน แบบแรกเลยที่เราเรียกกันว่า แจ็คกีตาร์ หรือหัวโฟน ชื่อจริงๆก็คือ Phone Connector หรือเรียกว่า Audio Jack, Plug ก็ได้

ที่ใช้กันจะมีขนาด 1/4” หรือ 6.35 mm / จะมีแบบขีดเดียว เรียกว่า TS (Tip-Ring) สัญญาณเป็น Mono

แบบสองขีด เรียกว่าTRS (Tip-Ring-Sleeve) เป็น Stereo หรือ Balance Mono ซึ่งจะใช้เชื่อมต่อสัญญาณไปยังเอฟเฟกต์ หรือแอมป์ต่างๆ

จริงๆแล้วคำว่าแจ็ค (Jack) นั้นคือเต้ารับ หรือรูที่จะติดอยู่กับอุปกรณ์ครับ

Jack Phone ขนาด 1/4″

ส่วนหัวเสียบที่ติดอยู่กับสายสัญญาณจะเรียกว่า ปลั๊ก (Plug) แต่บ้านเราจะเรียกสายที่มีหัวเสียบอยู่ว่าสายแจ็คแทน ซึ่งฝรั่งจะเรียกว่า เคเบิ้ล (Cable) จริงๆผมว่าเรียกว่าอะไรก็ได้ให้สื่อสารกันเข้าใจก็พอ แต่เรารู้ชื่อที่ถูกต้องไว้หน่อยก็ดีเวลาคุยกับชาวต่างชาติ หรือเด็กรุ่นใหม่ๆที่เค้าเรียนมาจะได้สื่อสารกันเข้าใจครับ

มัลติบางตัวจะมี Jack ขนาด 1/8” หรือ 3.5mm (หัวเล็ก) มาสำหรับเสียบ Headphone ด้วย หรือบางยี่ห้อก็ใช้ขนาด 1/4” หรือ 6.35mm สำหรับ Headphone ก็มีเช่นกัน ถ้าหูฟังขอเราเป็น Plug คนละขนาดสามารถหาซื้อหัวแปลงได้จากร้านขายเครื่องเสียง หรือสั่งจากออนไลน์

ถ้าหูฟังมือถือ หรือพวก Headset ที่มีหูฟัง Stereo + Mic มักจะใช้หัว Plug แบบ TRRS (Tip-Ring-Ring-Sleeve) บางครั้งถ้าเอาไปเสียบชอง Headphone ตัวหูฟังข้างไดข้างหนึ่งอาจจะกลายเป็นไมค์แทน ถ้าจะใช้ต้องหาหัวแปลง TRRS to TRS
มาเสียบครับ

Connector อีกแบบที่ขาดไม่ได้เลยในมัลติตัวท๊อปคือ XLR หรือที่เราเรียกว่าปลั๊กไมค์ สายไมค์ หรือ หัวแคนนอน เพราะถูกสร้างขึ้นมาโดยคุณ James H. Cannon ซึ่งจริงๆแล้วมีตั้งแต่ 3 ขาถึง 7ขา แต่ที่นิยมใช้วงการเสียงนั้นจะใช้แบบ 3 ขา โดยสัญญาณที่ได้นั้นเป็นแบบ Balance ซึ่งให้สัญญาณที่ดีกว่าและมีเสียงรบกวนน้อยกว่า โดยมักจะใช้ต่อไปยังอุปกรณ์ Pro Audio เช่น DI, Audio Interface , Mixer และ Mixer

Plug ตัวผุ้และตัวเมียแบบ XLR

เต้ารับ ตัวผู้และตัวเมียแบบ XLR

หลังเริ่มมีเต้ารับที่เป็น XLR Combo คือเสียบได้ทั้ง XLR และ Phone

มัลติบางรุ่นจะใส่ S/PDIF มาให้ด้วย ซึ่งมันย่อมาจาก Sony/Phillips Digital Interconnect Format เป็นการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลเลย ซึ่งไม่ค่อยจะเห็นใครใช้กันเท่าไหร่

Connector อื่นๆนอกจากที่จะส่งสัญญาณเสียง ก็จะมีที่ใช้ส่งข้อมูลเช่น MIDI และ LAN ซึ่งจะใช้ในการรับส่งคำสั่งสำหรับการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ

ในส่วนของ MIDI นั้นจะใช้ Connector ที่เรียกว่า DIN Plug, Jack ซึ่งจะมีขาคล้ายๆกับ XLR แต่หัวจะเล็กกว่า MIDI นั้นใช้แบบ 5ขา ซึ่งเราจะเรียกว่า 5-PIn DIN

Plug MIDI มี 5 ขา หรือ 5-Pin DIN

เต้ารับ MIDI

เราอาจจะเห็น Plug, Jack ที่คล้ายๆกันแต่มี 6, 7 ขาในฟุตสวิทช์ของแอมป์ต่างๆขึ้นอยู่กับจำนวนปุ่มที่ฟุตสวิทช์และฟังชันก์ที่ต้องการควบคุมบนแอมป์

หัว Plug 6-Pin DIN

Marshall TSL100 JCM2000 ใช้ 6-Pin DIN ในการเชื่อมต่อกับ Footswitch ปุ่ม

Marshall TSL Footswitch แบบ 5 ปุ่ม ส่งได้ 5 คำสั่งและมีไฟเลี้ยงจากแอมป์กลับมา LED ของฟุตสวิทช์ด้วย

เต้ารับ 6-Pin DIN

มัลติเอฟเฟกนั้นถ้าเราใช้งาน Amp, Cab Simualtion จะให้เสียงออกมาเป็น Full Range คือช่วงความถี่ที่ครบถ้วน เหมาะกับการใช้งานกับลำโพงที่เป็น FRFR หรือ Full Range Flat Responce ลำโพงพวกนี้จะตอบสนองย่านความถี่ได้ครบถ้วนตั้งแต่ 0-20,000Hz ซึ่งจริงๆมันก็คือลำโพงแทบจะทุกอย่างที่ไม่ใช้ลำโพงสำหรับเครื่องดนตรี (ไม่ใช้ตู้ลำโพงกีตาร์, เบส) แต่ลำโพง Full Range แต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่นนั้น จะมีการตอบสนองต่อความถี่ต่างๆแตกต่างกันออกไปบ้างตามการออกแบบ รสนิยมผู้ผลิต รวมถึงคุณภาพของลำโพง

ปัญหาของพวกเราก็คือ เราปรับเสียงกับลำโพงหรือหูฟังที่บ้านมาแล้ว พอไปถึงที่งาน ลำโพงของงานเสียงไม่เหมือนลำโพงที่บ้านเรา เสียงทีปรับมาเพี้ยนหมดเลย อาจจะแหลมไป หรือเบสบวม ถ้าต้องมาปรับแก้ทีละ Preset คงไม่ได้เล่นแน่ๆ ผู้ผลิตมัลติเอฟเฟกก็เลยออกแบบ Global EQ มาช่วยแก้ปัญหานี้ครับ

Global EQ นั้นจะเป็น EQ ที่ถูกวางเอาไว้ท้ายสุดก่อนภาค Output และด้วยความที่มันเป็น Global ที่แปลว่า โดยรวม ไม่ว่าเราจะเปลี่ยน Preset ไปเท่าไหร่ หรือเปิด ปิด เอฟเฟกต์อะไรก็ตาม เสียงทั้งหมดก็ยังจะถูกปรับแต่งตามค่าที่เราตั้ง Global EQ เอาไว้

คิดง่ายๆว่า Global EQ จะช่วยปรับลำโพงที่เราจะต้องเจอ ให้เหมือนกับเราลำโพงที่เราปรับแต่งเสียงมา เช่นลำโพงที่งานแหลมกว่าที่บ้าน เราก็ปรับลด EQ ย่านความถี่สูงลง ซะเพื่อชดเชยให้เสียงในทุก Preset ของเรานั้นแหลมน้อยลง และให้เสียงเหมือนที่เราต้องการ

Global EQ โดยมาจากจะเป็น Semi Parametric EQ ซึ่งจะให้เราสามารถเลือกความถี่ในบางย่านเสียงที่จะ Boost หรือ Cut ได้ ส่วนมากจะเป็นย่าน Mid โดยทั่วไปจะมีย่านที่ให้เราเลือกคือ Low, Mid (บางรุ่นจะแยกเป็น Low Mid – Hi Mid) และ High และมี Shelf EQ ให้เราอีกสองย่านคือ Low Cut หรือ High Pass Filter และ Hi Cut หรือ Low Pass Filter (เรื่องประเภท EQ ลองดูในรายการ GearFreak ได้ที่ https://youtu.be/HleeM6tHK8c)

ในส่วนของการใช้ Global EQ นั้นแรกๆเราจะสับสนหน่อย เพราะปรกติมือกีตาร์จะคุ้นกับ Low Mid High บนหน้าปัดแอมป์ แต่ไม่คุ้นกับตัวเลขความถี่ต่างๆ แต่ถ้าได้มีโอกาสลองปรับและฟังบ่อยๆก็จะเริ่มคุ้นเคยขึ้นครับ ซึ่งในแต่ละแนว กีตาร์แต่ละตัว อาจจะปรับแตกต่างกันไปตามความต้องการของเรา

เท่าที่ผมวางแผนไว้เรื่องมัลติเอฟเฟกต์ก็จะมีประมาณนี้ครับ ถ้ามีอะไรเพิ่มเติมจะมาเขียนอัพเดทให้อ่านกัน ใครสงสัยอะไรตรงไหนคอมเม้นท์ทิ้งไว้ได้เลยครับ หวังว่าเรื่องมัลติเอฟเฟกนี้จะมีประโยชน์กับทุกคนครับ