ผมเคยสงสัยว่าทำไมตอนเราเรียนรู้อะไรซักอย่างบนกีตาร์ ไม่ว่าจะเป็นคอร์ด C Em F G ตอนเริ่มใหม่ๆ หรือ Lick Tapping 2 มือสุดอลังการ …. ตอนเริ่มฝึกแรกๆเราต้องค่อยๆจำก่อนว่านิ้วไหนกดช่องไหนบนสายไหน กดผิดๆถูกๆอยู่นานเลย แต่พอเล่นๆไปแค่เราคิดจะเล่น มือของเราก็ทำงานทั้งหมดนั้นให้เราอย่างง่ายดาย โดยสมองแทบจะไม่ต้องคิดเลยว่าจะต้องสั่งการให้นิ้วไหนไปกดตรงไหนบ้าง ทั้งหมดนี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร?
พอลองมองย้อนไปในชีวิตของเรา มันมีอะไรที่คล้ายๆกันแบบนี้เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นตอนที่เริ่มขี่จักรยานเป็น วันแรกๆต้องพยายามทรงตัวแทบตาย ขี่ไปขี่มายกล้อได้ซะงั้น … หรือตัวอย่างใกล้ตัวอย่างเช่นการพิมพ์แชทบท Smartphone จอสัมผัส วันแรกๆจิ้มผิดจิ้มถูก กด ก ได้ ด .. จ้องแล้วจ้องอีกก็ยังพิมพ์ผิดอยู่ดี พิมพ์ไปพิมพ์มาเดี๋ยวนี้ไม่ต้องมองจอยังพิมพ์คำง่ายได้สบาย
ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ของร่างกายที่เราเรียกกันว่า Mussle Memory (ความทรงจำของกล้ามเนื้อ) ซึ่งจริงๆแล้วกล้ามเนื้อมันไม่สามารถจดจำอะไรได้นะครับ แต่มันเป็นการทำงานร่วมกันของสมอง ระบบประสาท ที่ส่งสัญญานไปยังกล้ามเนื้อ ยิ่งเราทำอะไรซ้ำบ่อยๆมากแค่ไหน ทั้งร่างกายของเราก็เรียนรู้ที่จะทำกิจกรรมนั้นๆให้ได้ดีขึ้นเรื่อย
แล้ว Muscle Memory จะช่วยให้เราเล่นกีตาร์ได้ดีขึ้นได้อย่างไร? ซ้อมอย่างไรถึงจะมีประสิทธิภาพ? เรามาดูกันเลยครับ
ขอขอบคุณแขกรับเชิญ กอล์ฟ ภาคภูมิ ไข่มุก จากรายการ อุ่นใจไกล้คุณหมอ ด้วยครับ
#6StringsDiary